การเดินทางในสมัยก่อน
เรือหางแมลงป่อง อดีตการเดินทางในลำน้ำปิง"เรือหางแมลงป่อง" อดีตการเดินทางในลำน้ำปิง (ลีด) การที่ต้องลงแช่น้ำอยู่เป็นเวลานาน ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังได้ง่าย เมื่อเป็นแล้วก็ยากที่จะรักษาให้หายเพราะสมัยก่อนยังไม่มียา การสวมเสื้อผ้าที่เปียกชื่นและทำงานหนักทำให้เหงื่อไคลหมักหมมอับชื้น เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ลูกถ่อจำเป็นต้องเปลือยกายเวลาที่ถ่อเรือ พาหนะทางน้ำที่ใช้เดินทางขึ้นล่องระหว่างกรุงเทพกับเมืองเชียงใหม่ในสมัยโบราณก็คือ การเดินทางโดยเรือหางแมลงป่อง ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่เมืองระแหง หรือ เมืองตาก ระหว่างที่เรือขึ้นล่องในลำน้ำปิงนั้นจะต้องผ่านเกาะแก่งน้อยใหญ่หลายสิบแห่ง เพราะทางน้ำบางตอนตัดผ่านเข้าไปในเทือกเขาแคบ กระแสน้ำจึงไหลเชี่ยวจัดอีกทั้งใต้น้ำก็ยังมีโขดหินแหลมคมซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับการเดินทาง ในการล่องเรือหางแมลงป่องแต่ละครั้งจะต้องใช้ลูกเรือหลายสิบคนเพื่อมาช่วยกันดึงเรือทวนกระแสน้ำขึ้นไปให้พ้นแก่งด้วยความยากลำบาก หากเรือและคนไม่แข็งแรงและชำนาญทางแล้วอาจทำให้เรือได้รับอันตรายและล่มกลางลำน้ำได้ นี่จึงเป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่ว่าทำไมการเดินทางโดยเรือในสมัยโบราณนั้นจึงต้องใช้เรือเป็นจำนวนมากไปกันเป็นขบวนมโหฬาร เพราะลูกเรือจะได้ช่วยกันดึงฉุดเรือ ปกติแล้วการเดินเรือในสมัยก่อนจะนิยมใช้เรือหางแมลงป่องมาก ในการเดินทางลูกถ่อบางคนอาจจะต้องเปลือยกายถ่อเรือ เนื่องจากการเดินทางรอนแรมไปกับเรือเป็นเวลานานหลายวันหลายสัปดาห์ บางครั้งท้องเรือติดทรายใต้น้ำก็ต้องลงไปเข็นหรือลากเรือเข้าสู่ร่องน้ำ จนเสื้อผ้าที่ใส่อยู่ไม่มีเวลาแห้ง โดยเฉพาะเสื้อผ้าของคนสมัยก่อนหาได้ไม่ง่ายนักคนหนึ่งจะมีเพียง 1 - 2 ชุดเท่านั้น จึงต้องถนุถนอมเสื้อผ้าไว้ใช้ในยามที่จำเป็น การที่ต้องลงแช่น้ำอยู่เป็นเวลานาน ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังได้ง่าย เมื่อเป็นแล้วก็ยากที่จะรักษาให้หายเพราะสมัยก่อนยังไม่มียา การสวมเสื้อผ้าที่เปียกชื่นและทำงานหนักทำให้เหงื่อไคลหมักหมมอับชื้น เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ลูกถ่อจำเป็นต้องเปลือยกายเวลาที่ถ่อเรือ รูปแบบของเรือหางแมลงป่องหรือเรือสีดอ ซึ่งใช้เดินทางขึ้นล่องตามลำน้ำแม่ปิงในสมัยโบราณนั้น ลักษณะของหัวเรือจะทำด้วยไม้ทั้งท่อน ด้านบนเรือจะแบนเรียบตลอดส่วนด้านล่างจะเป็นเหลี่ยมรูปจั่วแต่กลับเอาด้านแหลมลง ตนอบนของหัวเรือจะยกเชิดสูงขึ้นเพื่อสำหรับให้ลูกถ่อขึ้นไปเหยียบพร้อมกับออกแรงถีบส่งให้หัวเรือพุ่งไปข้างหน้า ถัดจากหัวเรือจะเป็นลานไม้กระดานกว้างพอที่จะให้คนถ่อหลาย ๆ คนไปยืน โดยที่ไม่เกะกะขวางทางกัน เมื่อลูกถ่อเอาไม้ถ่อยันพื้นดินใต้น้ำแล้วจะออกเดินพร้อมกับถีบเรือให้พุ่งไปข้างหน้า เมื่อถ่อพ้นส่วนหัวเรือที่ยกสูงแล้วนั้น ลูกถ่อจะเดินเลียบไปตามแคมหัวเรือจนสุดสุดช่วงลานไม้กระดาน แล้วดึงไม้ถ่อกลับขึ้นมา แล้วจะยกไม้ให้สูงขวางลำเรือเพื่อให้พ้นหัวลูกถ่อ จากนั้นจึงเดินไปตั้งต้นถ่ออีกวนเวียนเช่นนี้เรื่อยไป ถ้าเป็นเที่ยวขึ้นมาเรือจะต้องทวนกระแสน้ำที่เชี่ยว คนที่ถ่อจะต้องออกแรงอย่างหนักและต้องถ่อด้วยความรวดเร็วเพื่อสู้กับกระแสน้ำ สำหรับตอนกลางของลำเรือซึ่งเป็นส่วนที่กว้างที่สุดของเรือคือที่สำหรับบรรทุกสัมภาระ มีหลังคาโค้งทำด้วยไม่ไผ่สานทางด้วยชันเพื่อป้องกันแดดและฝน บนหลังเรือยังมีหลังคาเสริมขึ้นอีกชั้น วางอยู่บนรางไม้ไผ่ หลังคาอันบนสุดนี้สามารถเลื่อนปิดเปิดได้ ส่วนท้ายเรือซึ่งอยู่ถัดจากห้องสัมภาระนี้ไปคือห้องโดยสารซึ่งยกพื้นสูงกว่าระดับห้องสัมภาระ หลังคาของห้องโดยสารนี้จะแยกออกต่างหากกับหลังคาห้องสัมภาระและทำหลังคาสูงกว่า ผู้โดยสารจึงสามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้รอบทิศ ทางด้านข้างจะมีหน้าต่างไม้กระดานสามารถเลื่อนปิดเปิดได้เหมือนกัน ถัดจากห้องโดยสารจึงเป็นลานไม้กระดานส่วนท้ายเรือ ซึ่งเหมือนกันหัวเรือแต่ลานนี้จะมีระยะสั้นกว่างเล็กน้อย เพราะส่วนนี้ไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้แรงคนถ่อมากเท่ากับตอนหัวเรือ สำหรับด้านสุดท้ายของเรือจะเป็นที่นั่งของคนถือท้ายซึ่งนั่งถือใบพายขนาดใหญ่ คอยคัดท้ายเรือให้แล่นไปตามทิศทางที่ต้องการ คนถือท้ายเรือนี้ส่วนมากจะเป็นคนเฒ่าคนแก่ที่มีความชำนาญทางและรู้ร่องน้ำเป็นอย่างดี ส่วนปลายสุดของเรือจะเป็นท่อนไม้ทั้งท่อนเช่นเดียวกับหัวเรือ ส่วนใหญ่มีแบนและมีขนาดใหญ่กว่าส่วนหัวของเรือ เรือหางแมลงป่องบางลำจะทำท้ายเรือเชิดสูงมากและบากเป็นรูปปากฉลาม ชาวบ้านจึงเรียกว่า "เรือหางแมลงป่อง" การเดินทางโดยเรือหางแมลงป่องตามลำน้ำปิงแต่ละครั้งนั้น ต้องไปกันเป็นขบวนจำนวนหลายสิบลำ เนื่องจากสินค้าที่นำไปขายแต่ละครั้งมีจำนวนมากซึ่งต้องใช้เรือหลายลำบรรทุกไป และเพื่อความปลอดภัยจากการถูกดักปล้นระหว่างทางกับทั้งเพื่อป้องกันสัตว์ร้ายซึ่งมีอยู่ซุกชุมในป่าเวลาเดินทางด้วย เพราะในเวลากลางคืนคนในเรือจะออกมาตั้งแคมป์นอนพักอยู่บนฝั่ง นอกจากนั้นยังจะไว้คอยช่วยเหลือฉุดลากเรือที่มาด้วยกันอีกด้วย หลังจากที่ได้มีการสร้างทางรถไฟมาถึงเชียงใหม่แล้ว ความนิยมในการใช้เรือหางแมลงป่องเดินทางขนส่งสินค้าขึ้นล่องในลำน้ำปิงก็ลดลงไป เนื่องจากรถไฟมีความสะดวกรวดเร็วกว่า เรือหางแมลงป่องจึงค่อยๆ หายไปจากสายน้ำแม่ปิง ทิ้งไว้เพียงแค่ตำนานของคืนวันในการเดินทางอันแสนยากลำบาก ซึ่งในวันนี้ได้กลายเป็นอดีตไปเสียแล้ว...
วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552
การเดินทางสมัยก่อน
การเดินทางในสมัยก่อน
เรือหางแมลงป่อง อดีตการเดินทางในลำน้ำปิง"เรือหางแมลงป่อง" อดีตการเดินทางในลำน้ำปิง (ลีด) การที่ต้องลงแช่น้ำอยู่เป็นเวลานาน ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังได้ง่าย เมื่อเป็นแล้วก็ยากที่จะรักษาให้หายเพราะสมัยก่อนยังไม่มียา การสวมเสื้อผ้าที่เปียกชื่นและทำงานหนักทำให้เหงื่อไคลหมักหมมอับชื้น เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ลูกถ่อจำเป็นต้องเปลือยกายเวลาที่ถ่อเรือ พาหนะทางน้ำที่ใช้เดินทางขึ้นล่องระหว่างกรุงเทพกับเมืองเชียงใหม่ในสมัยโบราณก็คือ การเดินทางโดยเรือหางแมลงป่อง ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่เมืองระแหง หรือ เมืองตาก ระหว่างที่เรือขึ้นล่องในลำน้ำปิงนั้นจะต้องผ่านเกาะแก่งน้อยใหญ่หลายสิบแห่ง เพราะทางน้ำบางตอนตัดผ่านเข้าไปในเทือกเขาแคบ กระแสน้ำจึงไหลเชี่ยวจัดอีกทั้งใต้น้ำก็ยังมีโขดหินแหลมคมซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับการเดินทาง ในการล่องเรือหางแมลงป่องแต่ละครั้งจะต้องใช้ลูกเรือหลายสิบคนเพื่อมาช่วยกันดึงเรือทวนกระแสน้ำขึ้นไปให้พ้นแก่งด้วยความยากลำบาก หากเรือและคนไม่แข็งแรงและชำนาญทางแล้วอาจทำให้เรือได้รับอันตรายและล่มกลางลำน้ำได้ นี่จึงเป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่ว่าทำไมการเดินทางโดยเรือในสมัยโบราณนั้นจึงต้องใช้เรือเป็นจำนวนมากไปกันเป็นขบวนมโหฬาร เพราะลูกเรือจะได้ช่วยกันดึงฉุดเรือ ปกติแล้วการเดินเรือในสมัยก่อนจะนิยมใช้เรือหางแมลงป่องมาก ในการเดินทางลูกถ่อบางคนอาจจะต้องเปลือยกายถ่อเรือ เนื่องจากการเดินทางรอนแรมไปกับเรือเป็นเวลานานหลายวันหลายสัปดาห์ บางครั้งท้องเรือติดทรายใต้น้ำก็ต้องลงไปเข็นหรือลากเรือเข้าสู่ร่องน้ำ จนเสื้อผ้าที่ใส่อยู่ไม่มีเวลาแห้ง โดยเฉพาะเสื้อผ้าของคนสมัยก่อนหาได้ไม่ง่ายนักคนหนึ่งจะมีเพียง 1 - 2 ชุดเท่านั้น จึงต้องถนุถนอมเสื้อผ้าไว้ใช้ในยามที่จำเป็น การที่ต้องลงแช่น้ำอยู่เป็นเวลานาน ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังได้ง่าย เมื่อเป็นแล้วก็ยากที่จะรักษาให้หายเพราะสมัยก่อนยังไม่มียา การสวมเสื้อผ้าที่เปียกชื่นและทำงานหนักทำให้เหงื่อไคลหมักหมมอับชื้น เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ลูกถ่อจำเป็นต้องเปลือยกายเวลาที่ถ่อเรือ รูปแบบของเรือหางแมลงป่องหรือเรือสีดอ ซึ่งใช้เดินทางขึ้นล่องตามลำน้ำแม่ปิงในสมัยโบราณนั้น ลักษณะของหัวเรือจะทำด้วยไม้ทั้งท่อน ด้านบนเรือจะแบนเรียบตลอดส่วนด้านล่างจะเป็นเหลี่ยมรูปจั่วแต่กลับเอาด้านแหลมลง ตนอบนของหัวเรือจะยกเชิดสูงขึ้นเพื่อสำหรับให้ลูกถ่อขึ้นไปเหยียบพร้อมกับออกแรงถีบส่งให้หัวเรือพุ่งไปข้างหน้า ถัดจากหัวเรือจะเป็นลานไม้กระดานกว้างพอที่จะให้คนถ่อหลาย ๆ คนไปยืน โดยที่ไม่เกะกะขวางทางกัน เมื่อลูกถ่อเอาไม้ถ่อยันพื้นดินใต้น้ำแล้วจะออกเดินพร้อมกับถีบเรือให้พุ่งไปข้างหน้า เมื่อถ่อพ้นส่วนหัวเรือที่ยกสูงแล้วนั้น ลูกถ่อจะเดินเลียบไปตามแคมหัวเรือจนสุดสุดช่วงลานไม้กระดาน แล้วดึงไม้ถ่อกลับขึ้นมา แล้วจะยกไม้ให้สูงขวางลำเรือเพื่อให้พ้นหัวลูกถ่อ จากนั้นจึงเดินไปตั้งต้นถ่ออีกวนเวียนเช่นนี้เรื่อยไป ถ้าเป็นเที่ยวขึ้นมาเรือจะต้องทวนกระแสน้ำที่เชี่ยว คนที่ถ่อจะต้องออกแรงอย่างหนักและต้องถ่อด้วยความรวดเร็วเพื่อสู้กับกระแสน้ำ สำหรับตอนกลางของลำเรือซึ่งเป็นส่วนที่กว้างที่สุดของเรือคือที่สำหรับบรรทุกสัมภาระ มีหลังคาโค้งทำด้วยไม่ไผ่สานทางด้วยชันเพื่อป้องกันแดดและฝน บนหลังเรือยังมีหลังคาเสริมขึ้นอีกชั้น วางอยู่บนรางไม้ไผ่ หลังคาอันบนสุดนี้สามารถเลื่อนปิดเปิดได้ ส่วนท้ายเรือซึ่งอยู่ถัดจากห้องสัมภาระนี้ไปคือห้องโดยสารซึ่งยกพื้นสูงกว่าระดับห้องสัมภาระ หลังคาของห้องโดยสารนี้จะแยกออกต่างหากกับหลังคาห้องสัมภาระและทำหลังคาสูงกว่า ผู้โดยสารจึงสามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้รอบทิศ ทางด้านข้างจะมีหน้าต่างไม้กระดานสามารถเลื่อนปิดเปิดได้เหมือนกัน ถัดจากห้องโดยสารจึงเป็นลานไม้กระดานส่วนท้ายเรือ ซึ่งเหมือนกันหัวเรือแต่ลานนี้จะมีระยะสั้นกว่างเล็กน้อย เพราะส่วนนี้ไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้แรงคนถ่อมากเท่ากับตอนหัวเรือ สำหรับด้านสุดท้ายของเรือจะเป็นที่นั่งของคนถือท้ายซึ่งนั่งถือใบพายขนาดใหญ่ คอยคัดท้ายเรือให้แล่นไปตามทิศทางที่ต้องการ คนถือท้ายเรือนี้ส่วนมากจะเป็นคนเฒ่าคนแก่ที่มีความชำนาญทางและรู้ร่องน้ำเป็นอย่างดี ส่วนปลายสุดของเรือจะเป็นท่อนไม้ทั้งท่อนเช่นเดียวกับหัวเรือ ส่วนใหญ่มีแบนและมีขนาดใหญ่กว่าส่วนหัวของเรือ เรือหางแมลงป่องบางลำจะทำท้ายเรือเชิดสูงมากและบากเป็นรูปปากฉลาม ชาวบ้านจึงเรียกว่า "เรือหางแมลงป่อง" การเดินทางโดยเรือหางแมลงป่องตามลำน้ำปิงแต่ละครั้งนั้น ต้องไปกันเป็นขบวนจำนวนหลายสิบลำ เนื่องจากสินค้าที่นำไปขายแต่ละครั้งมีจำนวนมากซึ่งต้องใช้เรือหลายลำบรรทุกไป และเพื่อความปลอดภัยจากการถูกดักปล้นระหว่างทางกับทั้งเพื่อป้องกันสัตว์ร้ายซึ่งมีอยู่ซุกชุมในป่าเวลาเดินทางด้วย เพราะในเวลากลางคืนคนในเรือจะออกมาตั้งแคมป์นอนพักอยู่บนฝั่ง นอกจากนั้นยังจะไว้คอยช่วยเหลือฉุดลากเรือที่มาด้วยกันอีกด้วย หลังจากที่ได้มีการสร้างทางรถไฟมาถึงเชียงใหม่แล้ว ความนิยมในการใช้เรือหางแมลงป่องเดินทางขนส่งสินค้าขึ้นล่องในลำน้ำปิงก็ลดลงไป เนื่องจากรถไฟมีความสะดวกรวดเร็วกว่า เรือหางแมลงป่องจึงค่อยๆ หายไปจากสายน้ำแม่ปิง ทิ้งไว้เพียงแค่ตำนานของคืนวันในการเดินทางอันแสนยากลำบาก ซึ่งในวันนี้ได้กลายเป็นอดีตไปเสียแล้ว...
เรือหางแมลงป่อง อดีตการเดินทางในลำน้ำปิง"เรือหางแมลงป่อง" อดีตการเดินทางในลำน้ำปิง (ลีด) การที่ต้องลงแช่น้ำอยู่เป็นเวลานาน ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังได้ง่าย เมื่อเป็นแล้วก็ยากที่จะรักษาให้หายเพราะสมัยก่อนยังไม่มียา การสวมเสื้อผ้าที่เปียกชื่นและทำงานหนักทำให้เหงื่อไคลหมักหมมอับชื้น เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ลูกถ่อจำเป็นต้องเปลือยกายเวลาที่ถ่อเรือ พาหนะทางน้ำที่ใช้เดินทางขึ้นล่องระหว่างกรุงเทพกับเมืองเชียงใหม่ในสมัยโบราณก็คือ การเดินทางโดยเรือหางแมลงป่อง ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่เมืองระแหง หรือ เมืองตาก ระหว่างที่เรือขึ้นล่องในลำน้ำปิงนั้นจะต้องผ่านเกาะแก่งน้อยใหญ่หลายสิบแห่ง เพราะทางน้ำบางตอนตัดผ่านเข้าไปในเทือกเขาแคบ กระแสน้ำจึงไหลเชี่ยวจัดอีกทั้งใต้น้ำก็ยังมีโขดหินแหลมคมซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับการเดินทาง ในการล่องเรือหางแมลงป่องแต่ละครั้งจะต้องใช้ลูกเรือหลายสิบคนเพื่อมาช่วยกันดึงเรือทวนกระแสน้ำขึ้นไปให้พ้นแก่งด้วยความยากลำบาก หากเรือและคนไม่แข็งแรงและชำนาญทางแล้วอาจทำให้เรือได้รับอันตรายและล่มกลางลำน้ำได้ นี่จึงเป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่ว่าทำไมการเดินทางโดยเรือในสมัยโบราณนั้นจึงต้องใช้เรือเป็นจำนวนมากไปกันเป็นขบวนมโหฬาร เพราะลูกเรือจะได้ช่วยกันดึงฉุดเรือ ปกติแล้วการเดินเรือในสมัยก่อนจะนิยมใช้เรือหางแมลงป่องมาก ในการเดินทางลูกถ่อบางคนอาจจะต้องเปลือยกายถ่อเรือ เนื่องจากการเดินทางรอนแรมไปกับเรือเป็นเวลานานหลายวันหลายสัปดาห์ บางครั้งท้องเรือติดทรายใต้น้ำก็ต้องลงไปเข็นหรือลากเรือเข้าสู่ร่องน้ำ จนเสื้อผ้าที่ใส่อยู่ไม่มีเวลาแห้ง โดยเฉพาะเสื้อผ้าของคนสมัยก่อนหาได้ไม่ง่ายนักคนหนึ่งจะมีเพียง 1 - 2 ชุดเท่านั้น จึงต้องถนุถนอมเสื้อผ้าไว้ใช้ในยามที่จำเป็น การที่ต้องลงแช่น้ำอยู่เป็นเวลานาน ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังได้ง่าย เมื่อเป็นแล้วก็ยากที่จะรักษาให้หายเพราะสมัยก่อนยังไม่มียา การสวมเสื้อผ้าที่เปียกชื่นและทำงานหนักทำให้เหงื่อไคลหมักหมมอับชื้น เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ลูกถ่อจำเป็นต้องเปลือยกายเวลาที่ถ่อเรือ รูปแบบของเรือหางแมลงป่องหรือเรือสีดอ ซึ่งใช้เดินทางขึ้นล่องตามลำน้ำแม่ปิงในสมัยโบราณนั้น ลักษณะของหัวเรือจะทำด้วยไม้ทั้งท่อน ด้านบนเรือจะแบนเรียบตลอดส่วนด้านล่างจะเป็นเหลี่ยมรูปจั่วแต่กลับเอาด้านแหลมลง ตนอบนของหัวเรือจะยกเชิดสูงขึ้นเพื่อสำหรับให้ลูกถ่อขึ้นไปเหยียบพร้อมกับออกแรงถีบส่งให้หัวเรือพุ่งไปข้างหน้า ถัดจากหัวเรือจะเป็นลานไม้กระดานกว้างพอที่จะให้คนถ่อหลาย ๆ คนไปยืน โดยที่ไม่เกะกะขวางทางกัน เมื่อลูกถ่อเอาไม้ถ่อยันพื้นดินใต้น้ำแล้วจะออกเดินพร้อมกับถีบเรือให้พุ่งไปข้างหน้า เมื่อถ่อพ้นส่วนหัวเรือที่ยกสูงแล้วนั้น ลูกถ่อจะเดินเลียบไปตามแคมหัวเรือจนสุดสุดช่วงลานไม้กระดาน แล้วดึงไม้ถ่อกลับขึ้นมา แล้วจะยกไม้ให้สูงขวางลำเรือเพื่อให้พ้นหัวลูกถ่อ จากนั้นจึงเดินไปตั้งต้นถ่ออีกวนเวียนเช่นนี้เรื่อยไป ถ้าเป็นเที่ยวขึ้นมาเรือจะต้องทวนกระแสน้ำที่เชี่ยว คนที่ถ่อจะต้องออกแรงอย่างหนักและต้องถ่อด้วยความรวดเร็วเพื่อสู้กับกระแสน้ำ สำหรับตอนกลางของลำเรือซึ่งเป็นส่วนที่กว้างที่สุดของเรือคือที่สำหรับบรรทุกสัมภาระ มีหลังคาโค้งทำด้วยไม่ไผ่สานทางด้วยชันเพื่อป้องกันแดดและฝน บนหลังเรือยังมีหลังคาเสริมขึ้นอีกชั้น วางอยู่บนรางไม้ไผ่ หลังคาอันบนสุดนี้สามารถเลื่อนปิดเปิดได้ ส่วนท้ายเรือซึ่งอยู่ถัดจากห้องสัมภาระนี้ไปคือห้องโดยสารซึ่งยกพื้นสูงกว่าระดับห้องสัมภาระ หลังคาของห้องโดยสารนี้จะแยกออกต่างหากกับหลังคาห้องสัมภาระและทำหลังคาสูงกว่า ผู้โดยสารจึงสามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้รอบทิศ ทางด้านข้างจะมีหน้าต่างไม้กระดานสามารถเลื่อนปิดเปิดได้เหมือนกัน ถัดจากห้องโดยสารจึงเป็นลานไม้กระดานส่วนท้ายเรือ ซึ่งเหมือนกันหัวเรือแต่ลานนี้จะมีระยะสั้นกว่างเล็กน้อย เพราะส่วนนี้ไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้แรงคนถ่อมากเท่ากับตอนหัวเรือ สำหรับด้านสุดท้ายของเรือจะเป็นที่นั่งของคนถือท้ายซึ่งนั่งถือใบพายขนาดใหญ่ คอยคัดท้ายเรือให้แล่นไปตามทิศทางที่ต้องการ คนถือท้ายเรือนี้ส่วนมากจะเป็นคนเฒ่าคนแก่ที่มีความชำนาญทางและรู้ร่องน้ำเป็นอย่างดี ส่วนปลายสุดของเรือจะเป็นท่อนไม้ทั้งท่อนเช่นเดียวกับหัวเรือ ส่วนใหญ่มีแบนและมีขนาดใหญ่กว่าส่วนหัวของเรือ เรือหางแมลงป่องบางลำจะทำท้ายเรือเชิดสูงมากและบากเป็นรูปปากฉลาม ชาวบ้านจึงเรียกว่า "เรือหางแมลงป่อง" การเดินทางโดยเรือหางแมลงป่องตามลำน้ำปิงแต่ละครั้งนั้น ต้องไปกันเป็นขบวนจำนวนหลายสิบลำ เนื่องจากสินค้าที่นำไปขายแต่ละครั้งมีจำนวนมากซึ่งต้องใช้เรือหลายลำบรรทุกไป และเพื่อความปลอดภัยจากการถูกดักปล้นระหว่างทางกับทั้งเพื่อป้องกันสัตว์ร้ายซึ่งมีอยู่ซุกชุมในป่าเวลาเดินทางด้วย เพราะในเวลากลางคืนคนในเรือจะออกมาตั้งแคมป์นอนพักอยู่บนฝั่ง นอกจากนั้นยังจะไว้คอยช่วยเหลือฉุดลากเรือที่มาด้วยกันอีกด้วย หลังจากที่ได้มีการสร้างทางรถไฟมาถึงเชียงใหม่แล้ว ความนิยมในการใช้เรือหางแมลงป่องเดินทางขนส่งสินค้าขึ้นล่องในลำน้ำปิงก็ลดลงไป เนื่องจากรถไฟมีความสะดวกรวดเร็วกว่า เรือหางแมลงป่องจึงค่อยๆ หายไปจากสายน้ำแม่ปิง ทิ้งไว้เพียงแค่ตำนานของคืนวันในการเดินทางอันแสนยากลำบาก ซึ่งในวันนี้ได้กลายเป็นอดีตไปเสียแล้ว...
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ประวัติศาสตร์ให้โด่งดังปรากฎไปทั่วโลก และนำพระเกียรติยศเกียรติประวัติมาสู่ประเทศไทย นำความภาคภูมิใจมาสู่ประชาชนชาวไทยตราบทุกวันนี้ โดยเป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชเพื่อทรงพิสูจน์การคำนวณสถานที่และเวลาการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้อย่างถูกต้องชัดเจน ซึ่งคำนวณล่วงหน้าไว้ถึง 2 ปีว่าจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในวันอังคาร เดือน 9 ขึ้น 1 ค่ำปีมะโรง จุลศักราช 1230 ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม 2411 โดยเส้นศูนย์ของอุปราคาจะผ่านมาใกล้ที่สุด ณ บ้านหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ในพระราชอาณาจักรสยาม ทางฝั่งทะเลตะวันออกของแหลมมลายู ตรงเส้นวิตถันดร (แลตติดจูต) 11 องศา 38 ลิปดาทิศเหนือ และเส้นทีรฆันดร (ลองติดจูต) 29 องศา 39 ลิปดาทิศตะวันออก โดยคราสเริ่มจับเวลา 10 นาฬิกา 4 นาที จับเต็มดวง เวลา 11 นาฬิกา 36 นาที 20 วินาที กินเวลานาน 6 นาที 45 วินาที คลายคราสออกเวลา 13 นาฬิกา 37 นาที 45 วินาที ซึ่งไม่ปรากฎว่ามีหลักฐานการคำนวณจากประเทศตะวันตกมาก่อนหน้านี้ในระหว่างนั้นประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศต่างก็เฝ้ารอวันพิสูจน์การเกิดสุริยุปราคาที่หว้ากอ เมื่อใกล้ถึงวัน ทรงโปรดให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์มาสร้างค่ายไว้ล่วงหน้า และพระองค์ได้ใช้ค่ายนี้เป็นห้องทดลองวิทยาศาสตร์กลางแจ้ง เพื่อเป็นที่ชุมนุมของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกและคณะฑูตานุทูตประเทศต่างๆ แล้วก็เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ตามที่พระองค์ทรงคำนวณ โดยไม่คลาดเคลื่อน พระราชกรณียกิจในครั้งนั้นทำให้พระเกียรติยศระบือไกล บรรดาแขกต่างประเทศจำนวนมากได้รับทราบถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ที่มีไม่แพ้ชาติใด ทั้งๆที่ยังขาดเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ พระเกียรติคุณในด้านวิทยาศาสตร์ เป็นที่ยอมรับและปรากฎเด่นชัดแก่บรรดานักปราชญ์ และนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก แต่ประชาชนชาวไทยก็ต้องประสบกับความสญเสียครั้งใหญ่หลวง เมื่อพระองค์เสด็จกลับกรุงเทพได้เพียง 5 วัน ก็ทรงประชวรและเสด็จสวรรคตด้วยไข้มาเลเรีย ในวันที่ 1 ตุลาคม 2411 นั่นเองเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระองค์และวันสำคัญทางประวัติศาสตร์นั้น ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2532 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบในหลักการให้ดำเนินโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ และในวันที่ 3 พฤษภาคม 2533 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานนามสถานที่แห่งนี้ว่า "อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งขึ้นเป็นสถานศึกษาเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2536 ปัจจุบันสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"ที่มาhttp://www.waghor.go.th/v1/aboutus/aboutus.html
เขียนโดย ธันยพร ดอนแก้ว
เขียนโดย ธันยพร ดอนแก้ว
ความหมายของเซลล์
เซลล์ คือ หน่วยโครงสร้างที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต ทำหน้าที่เป็นทั้งหน่วยโครงสร้างและหน้าที่ของการประสานงานและการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้นั้นก็เนื่องจากความมีชีวิตของเซลล์ ในการเกิดเซลล์ใหม่ก็เกี่ยวข้องกับกระบวนการถ่ายทอดพันธุกรรมจากเซลล์หนึ่งไปเซลล์หนึ่ง และกิจกรรมต่างๆของสิ่งมีชีวิตก็ขึ้นอยู่กับกิจกรรมของเซลล์ ขนาดของเซลล์ มีขนาดต่างกันมากมาย เซลล์ที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ ไมโครพลาสมา (Mycoplasma) หรือ PPLO (Pleuropneumonia-like Organism) เป็นเซลล์ที่ประกอบด้วยสารพันธุกรรมที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ไรโบโซม เยื่อหุ้มเซลล์และเอมไซม์ที่จำเป็นประมาณ 40 กว่าชนิดเท่านั้น เซลล์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ เซลล์ไข่นกกระจอกเทศ ในการวัดขนาดของเซลล์ ใช้มาตร ส่วนประกอบของเซลล์พืช
1.ผนังเซลล์ (Cell Wall) เป็นส่วนทีอยู่นอกสุด ทำหน้าที่กั้นส่วนภายในของเซลล์แต่ละเซลล์ สร้างความแข็งแรง ทำให้เซลล์คงรูปร่างอยู่ได้ มีช่องสำหรับให้สารต่างๆผ่านเข้าออกเซลล์ได้ ผนังเซลล์ใบไม้ ดอกไม้ จะเปื่อยยุ่ยง่าย ถ้าเป็นพวกเนื้อไม้ เปลือกผลไม้แข็ง ผนังเซลล์จะหนาและทนทาน ในเซลล์ของสัตว์เราจะไม่พบผนังเซลล์
2.เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ ประกอบด้วยสารประเภทไขมันและโปรตีน ทำหน้าที่ควบคุมการผ่านเข้าออกของสารบางอย่าง เช่น น้ำ อากาศ และสารละลายต่างๆ
3.ไซโทพลาสซึม (Cytoplasm) อยู่ระหว่างเยื่อหุ้มเซลล์กับนิวเคลียส มีลักษณะเป็นของเหลวที่มีสิ่งต่างๆปนอยู่ เช่น น้าตาล ไขมัน โปรตีนและของเสียอื่นๆ ไซโทพลาสซึมในพืชมีเม็ดสีเขียวที่เรียกว่า คลอโรพลาสต์ (Cholroplast) ประกอบด้วย (ในสัตว์ไม่มี)
a.นิวเคลียส เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของเซลล์ในไซโทพลาสซึม มีลักษณะค่อนข้างกลม ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ การเจริญเติบโตตลอดจนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม จาก พ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน ในนิวเคลียสจะมีส่วนประกอบ 2 อย่าง คือ
b.นิวคลีโอลัส (Nucleolus) ประกอบด้วยสารประกอบ DNA (Deoxyribonucleic Acid) และ RNA (Ribonucleic Acid) เป็นส่วนใหญ่ และเป็นแหล่งสร้างไลโบโซม แล้วไหลออกสู่ ไซโทพลาสซึม ผ่านทางช่องเยื่อบุนิวเคลียส เพื่อทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนให้แก่เซลล์ แล้วส่งออกไปนอกเซลล์
4.โครมาทิน(Chromatin) ร่างแหของโครโมโซม (Chromosome) ประกอบด้วย DNA หรือที่เรียกว่า จีน (Gene) และมีรหัสพันธุกรรม (Genetic Code) ทำหน้าที่ควบคุมการสร้างโปรตีนและ DNA
5.แวคคิวโอล (Vacuole) พบได้ทั้งเซลล์พืชแลเซลล์สัตว์ แต่ในเซลล์พืชจะมีขนาดใหญ่กว่า ทำหน้าที่ผ่านเข้าออกของสารระหว่างแวคคิวโอลและไซโทพลาสซึม เป็นที่พักและที่เก็บสะสมของเสียก่อนถูกขับออกจากเซลล์
www.bodin2.ac.th/web/13042/images/image860.jpg
เซลล์สัตว์
โครงสร้างของเซลล์สัตว์
1. เยื่อหุ้มเซลล์(Cell Membrane) มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ ทำหน้าที่ควบคุมการเข้าออกของสาร
2. ไซโทพลาสซึม (Cytoplasm) เป็นของเหลวมีสิ่งต่างๆปนอยู่ เช่น ส่วนประกอบของเซลล์อื่น น้ำ อาหาร อากาศ
3. นิวเคลียส เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุด มีลัษณะค่อนข้างกลม ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ การเจริญเติบโตตลอดจนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน
เซลล์เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการจัดระบบสารเคมีต่างๆ สารประกอบเคมีหลายชนิดมารวมกัน ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ลิปิด กรดนิคลีอิค วิตามิน แร่ธาตุต่างๆ และน้ำ เซลล์สามารถเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้ เซลล์มีการจัดระบบที่แตกต่างกันทำให้มีรูปร่างและการทำงานที่แตกต่างกันไปตามชนิดของเซลล์
ลักษณะทั่วไปของเซลล์ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1. เยื่อหุ้มเซลล์ เป็นเยื่อหุ้มที่มีหน้าที่ในการคัดเลือกสารที่จะเข้าออกจากเซลล์ และใช้ในการป้องกันตัวในสัตว์เซลล์เดียว
2. โปรโตพลาสซึม เป็นส่วนภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ประกอบด้วย นิวเคลียสและ ไซโตพลาสซึม
เซลล์มี 2 ประเภท คือ
1. เซลล์โปรคาริโอท เป็นเซลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส
2. เซลล์ยูคาริโอท เป็นเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส
เซลล์สัตว์ ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กประมาณ 0.5-2 ไมครอน (1 ไมครอน เท่ากับ 0.001 มิลลิเมตร) สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีจำนวนเซลล์ที่แตกต่างกัน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่จะมีระบบร่างการที่ซับซ้อนก็จะมีจำนวนเซลล์มาก โดยสิ่งมีชีวิตจะมีการแบ่งเซลล์อย่างรวดเร็วในตอนแรก และจะช้าลงทั้งนี้อัตราการแบ่งตัวจะขึ้นอยู่กับว่าเป็นเซลล์ของร่างกายส่วนใด การแบ่งเซลล์มี 2 แบบ คือ
1. การแบ่งเซลล์แบบไมโตซีส เป็นการแบ่งเซลล์แบบที่มีจำนวนโครโมโซมคงเดิม เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อการเจริญเติบโต
2. การแบ่งเซลล์แบบไมโอซีส เป็นการแบ่งเซลล์แบบที่มีจำนวนโครโมโซมลดลง เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อการสืบพันธุ์
สิ่งมีชีวิตสามารถแบ่งโดยใช้ระดับเซลล์ ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว มี 2 ระดับคือ ระดับเซลล์ และระดับกลุ่ม
2. สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ มี 3 ระดับ คือ ระดับเนื้อเยื่อ ระดับอวัยวะ และระดับระบบอวัยวะ
นักชีววิทยาแบ่งเซลล์ออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.เซลล์โปรคาริโอต (Procaryotic Cell) เป็นเซลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ได้แก่ แบคทีเรีย ไมโคพลาสมา และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน มีโครงสร้างต่างๆดังนี้
1.1 ผนังเซลล์ (Cell Wall) หนาประมาณ 100 นาโนเมตร ห่อหุ้มเยื่อหุ้มเซลล์อีกทีหนึ่ง มีสารคล้ายวุ้นห่อหุ้มผนังเซลล์อีกชั้นหนึ่ง เรียกว่าปลอกหุ้มเซลล์ (Capsule) ทำหน้าที่ป้องกันอันตราย
1.2 เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) ประกอบด้วยเยื่อบางๆ 2 ชั้นประกบกัน มีบางส่วนม้วนยื่นเข้าไปในเซลล์ เรียกว่า มีโซโซม (Mesosome)
1.3 บริเวณนิวเคลียส (Nucleus) บริเวณกลางเซลล์จะมีโครงสร้างคล้ายนิวเคลียส เรียกว่า Nucleoid ประกอบด้วยสาย DNA มีลักษณะเป็นเส้นหนาประมาณ 3-5 นาโนเมตร
1.4 ไรโบโซม (Ribosome) จะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มภายในไซโทพลาสซึม มีลักะค่อนข้างกลม หน้าที่ คือ สังเคราะห์โปรตีน
1.5 แฟลกเจลลัม (Flagellum) เป็นโครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่ ประกอบด้วยสารพวกโปรตีนที่มีกรดอะมิโน พวกกรดแอสพาติก และกรดกลูตามิก จำนวนมาก
1.6 ไพลัส (Pillus) มีหน้าที่ช่วยในการเกาะกันของเซลล์ ทำให้มีการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งได้
1.7 เอนโดสปอร์ (Endospore) เป็นโครงสร้างคล้ายสปอร์ มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้เซลล์ถูกทำลาย สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ คือ Dipicolinic Acid (DPA) และ แคลเซียมไอออน ช่วยให้ทนความร้อนได้
เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเซลล์พืช และเซลล์สัตว์
เซลล์พืช เซลล์สัตว์
1. เซลล์พืชมีรูปร่างเป็นเหลี่ยม 1. เซลล์สัตว์มีรูปร่างกลม หรือรี
2. มีผนังเซลล์อยู่ด้านนอก 2. ไม่มีผนังเซลล์ แต่มีสารเคลือบเซลล์อยู่ด้านนอก
3. มีคลอโรพลาสต์ภายในเซลล์ 3. ไม่มีคลอโรพลาสต์
4. ไม่มีเซนทริโอล 4. มีเซนทริโอลใช้ในการแบ่งเซลล์
5. แวคคิวโอลมีขนาดใหญ่ มองเห็นได้ชัดเจน 5. แวคคิวโอลมีขนาดเล็ก มองเห็นได้ไม่ชัดเจน
6. ไม่มีไลโซโซม 6. มีไลโซโซม
การลำเลียงสารผ่านเซลล์
1).ลักษณะของสารผ่านเซลล์ สารที่สามารถลำเลียงผ่านเซลล์ได้นั้น มีทั้งลักษณะที่เป็นของเหลว ของแข็งและก๊าซ โดยที่สารประกอบเหล่านี้จะอยู่ร่วมกับน้ำในลักษณะของสารผสมที่ต่างกัน 4 ลักษณะคือ
a) สารละลาย(Solution) สารผสมที่เกิดจากโมเลกุล หรือก๊าซของสาร 2 ชนิดมาผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน (Homogeneous) สารที่มีปริมาณมากกว่า เรียกว่า ตัวทำละลาย(Solvent) สารที่มีปริมาณน้อยกว่า เรียกว่า ตัวถูกละลาย (Solute)
i) สารละลายของก๊าซในของเหลว คือ สารละลายที่เกิดจากก๊าซละลายในน้ำ
ii) ก๊าซบางชนิดละลายน้ำได้น้อย และเมื่อละลายน้ำได้ยังคงโมเลกุลของก๊าซนั้นๆ ไม่รวมตัวหรือทำปฏิกริยากับน้ำ
iii) สารละลายของของเหลวในของเหลว คือ ของผสมที่เกิดจากของเหลวชนิดหนึ่งไปละลายในของเหลวอีกชนิดหนึ่ง
iv) สารละลายของแข็งในของเหลว คือ สารละลายที่เกิดจากสารประกอบที่เป็นของแข็งสามารถละลายน้ำได้ เช่น น้ำตาล
b) สารแขวนลอย(Suspension) คือ ของผสมที่เกิดจากการรวมตัวของสาร 2 ชนิด ซึ่งโมเลกุลของสารชนิดหนึ่งต่อเนื่องกันตลอด ส่วนโมเลกุลของสารอีกชนิดหนึ่งจะแยกตัวไปรวมกับอนุภาคสารแขวนลอย จัดเป็นสารที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน (Heterogeneus)
c) อิมัลชั่น( Emulsion) คือสารผสมที่เกิดจากของเหลว 2 ชนิดไปรวมกันแต่ต่างก็ไม่มีการละลายในกันและกัน
d) คอลลอยด์ (Colloid) คือสารผสมที่เกิดจากสาร 2 ชนิดผสมกันแต่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน คือ ชนิดหนึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้สารอีกชนิดหนึ่งแขวนลอย คอลลอยด์มีหลายประเภทดังนี้
i) เจล (Gel)ii) ซอล(Sol)iii) แอโรซอล (Aerosol)
2) การลำเลียงสารโดยผ่านเยื่อหุ้มเซลล์มีหลายวิธีได้แก่
(1) การแพร่ (Diffusion) เป็นปรากฏการณ์ที่มีโมเลกุลหรือไอออนของสารมีการเคลื่อนที่ จากที่ที่มีโมเลกุลไออนที่หนาแน่น ไปยัง ที่ที่มีโมเลกุลไออนของสารน้อยกว่า สารที่แพร่ได้อาจอยู่ในสถาวะของก๊าซ ของเหลว หรืออนุภาคของของแข็งซึ่งแขวนลอย
เซลล์ คือ หน่วยโครงสร้างที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต ทำหน้าที่เป็นทั้งหน่วยโครงสร้างและหน้าที่ของการประสานงานและการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้นั้นก็เนื่องจากความมีชีวิตของเซลล์ ในการเกิดเซลล์ใหม่ก็เกี่ยวข้องกับกระบวนการถ่ายทอดพันธุกรรมจากเซลล์หนึ่งไปเซลล์หนึ่ง และกิจกรรมต่างๆของสิ่งมีชีวิตก็ขึ้นอยู่กับกิจกรรมของเซลล์ ขนาดของเซลล์ มีขนาดต่างกันมากมาย เซลล์ที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ ไมโครพลาสมา (Mycoplasma) หรือ PPLO (Pleuropneumonia-like Organism) เป็นเซลล์ที่ประกอบด้วยสารพันธุกรรมที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ไรโบโซม เยื่อหุ้มเซลล์และเอมไซม์ที่จำเป็นประมาณ 40 กว่าชนิดเท่านั้น เซลล์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ เซลล์ไข่นกกระจอกเทศ ในการวัดขนาดของเซลล์ ใช้มาตร ส่วนประกอบของเซลล์พืช
1.ผนังเซลล์ (Cell Wall) เป็นส่วนทีอยู่นอกสุด ทำหน้าที่กั้นส่วนภายในของเซลล์แต่ละเซลล์ สร้างความแข็งแรง ทำให้เซลล์คงรูปร่างอยู่ได้ มีช่องสำหรับให้สารต่างๆผ่านเข้าออกเซลล์ได้ ผนังเซลล์ใบไม้ ดอกไม้ จะเปื่อยยุ่ยง่าย ถ้าเป็นพวกเนื้อไม้ เปลือกผลไม้แข็ง ผนังเซลล์จะหนาและทนทาน ในเซลล์ของสัตว์เราจะไม่พบผนังเซลล์
2.เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ ประกอบด้วยสารประเภทไขมันและโปรตีน ทำหน้าที่ควบคุมการผ่านเข้าออกของสารบางอย่าง เช่น น้ำ อากาศ และสารละลายต่างๆ
3.ไซโทพลาสซึม (Cytoplasm) อยู่ระหว่างเยื่อหุ้มเซลล์กับนิวเคลียส มีลักษณะเป็นของเหลวที่มีสิ่งต่างๆปนอยู่ เช่น น้าตาล ไขมัน โปรตีนและของเสียอื่นๆ ไซโทพลาสซึมในพืชมีเม็ดสีเขียวที่เรียกว่า คลอโรพลาสต์ (Cholroplast) ประกอบด้วย (ในสัตว์ไม่มี)
a.นิวเคลียส เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของเซลล์ในไซโทพลาสซึม มีลักษณะค่อนข้างกลม ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ การเจริญเติบโตตลอดจนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม จาก พ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน ในนิวเคลียสจะมีส่วนประกอบ 2 อย่าง คือ
b.นิวคลีโอลัส (Nucleolus) ประกอบด้วยสารประกอบ DNA (Deoxyribonucleic Acid) และ RNA (Ribonucleic Acid) เป็นส่วนใหญ่ และเป็นแหล่งสร้างไลโบโซม แล้วไหลออกสู่ ไซโทพลาสซึม ผ่านทางช่องเยื่อบุนิวเคลียส เพื่อทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนให้แก่เซลล์ แล้วส่งออกไปนอกเซลล์
4.โครมาทิน(Chromatin) ร่างแหของโครโมโซม (Chromosome) ประกอบด้วย DNA หรือที่เรียกว่า จีน (Gene) และมีรหัสพันธุกรรม (Genetic Code) ทำหน้าที่ควบคุมการสร้างโปรตีนและ DNA
5.แวคคิวโอล (Vacuole) พบได้ทั้งเซลล์พืชแลเซลล์สัตว์ แต่ในเซลล์พืชจะมีขนาดใหญ่กว่า ทำหน้าที่ผ่านเข้าออกของสารระหว่างแวคคิวโอลและไซโทพลาสซึม เป็นที่พักและที่เก็บสะสมของเสียก่อนถูกขับออกจากเซลล์
www.bodin2.ac.th/web/13042/images/image860.jpg
เซลล์สัตว์
โครงสร้างของเซลล์สัตว์
1. เยื่อหุ้มเซลล์(Cell Membrane) มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ ทำหน้าที่ควบคุมการเข้าออกของสาร
2. ไซโทพลาสซึม (Cytoplasm) เป็นของเหลวมีสิ่งต่างๆปนอยู่ เช่น ส่วนประกอบของเซลล์อื่น น้ำ อาหาร อากาศ
3. นิวเคลียส เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุด มีลัษณะค่อนข้างกลม ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ การเจริญเติบโตตลอดจนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน
เซลล์เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการจัดระบบสารเคมีต่างๆ สารประกอบเคมีหลายชนิดมารวมกัน ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ลิปิด กรดนิคลีอิค วิตามิน แร่ธาตุต่างๆ และน้ำ เซลล์สามารถเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้ เซลล์มีการจัดระบบที่แตกต่างกันทำให้มีรูปร่างและการทำงานที่แตกต่างกันไปตามชนิดของเซลล์
ลักษณะทั่วไปของเซลล์ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1. เยื่อหุ้มเซลล์ เป็นเยื่อหุ้มที่มีหน้าที่ในการคัดเลือกสารที่จะเข้าออกจากเซลล์ และใช้ในการป้องกันตัวในสัตว์เซลล์เดียว
2. โปรโตพลาสซึม เป็นส่วนภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ประกอบด้วย นิวเคลียสและ ไซโตพลาสซึม
เซลล์มี 2 ประเภท คือ
1. เซลล์โปรคาริโอท เป็นเซลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส
2. เซลล์ยูคาริโอท เป็นเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส
เซลล์สัตว์ ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กประมาณ 0.5-2 ไมครอน (1 ไมครอน เท่ากับ 0.001 มิลลิเมตร) สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีจำนวนเซลล์ที่แตกต่างกัน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่จะมีระบบร่างการที่ซับซ้อนก็จะมีจำนวนเซลล์มาก โดยสิ่งมีชีวิตจะมีการแบ่งเซลล์อย่างรวดเร็วในตอนแรก และจะช้าลงทั้งนี้อัตราการแบ่งตัวจะขึ้นอยู่กับว่าเป็นเซลล์ของร่างกายส่วนใด การแบ่งเซลล์มี 2 แบบ คือ
1. การแบ่งเซลล์แบบไมโตซีส เป็นการแบ่งเซลล์แบบที่มีจำนวนโครโมโซมคงเดิม เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อการเจริญเติบโต
2. การแบ่งเซลล์แบบไมโอซีส เป็นการแบ่งเซลล์แบบที่มีจำนวนโครโมโซมลดลง เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อการสืบพันธุ์
สิ่งมีชีวิตสามารถแบ่งโดยใช้ระดับเซลล์ ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว มี 2 ระดับคือ ระดับเซลล์ และระดับกลุ่ม
2. สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ มี 3 ระดับ คือ ระดับเนื้อเยื่อ ระดับอวัยวะ และระดับระบบอวัยวะ
นักชีววิทยาแบ่งเซลล์ออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.เซลล์โปรคาริโอต (Procaryotic Cell) เป็นเซลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ได้แก่ แบคทีเรีย ไมโคพลาสมา และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน มีโครงสร้างต่างๆดังนี้
1.1 ผนังเซลล์ (Cell Wall) หนาประมาณ 100 นาโนเมตร ห่อหุ้มเยื่อหุ้มเซลล์อีกทีหนึ่ง มีสารคล้ายวุ้นห่อหุ้มผนังเซลล์อีกชั้นหนึ่ง เรียกว่าปลอกหุ้มเซลล์ (Capsule) ทำหน้าที่ป้องกันอันตราย
1.2 เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) ประกอบด้วยเยื่อบางๆ 2 ชั้นประกบกัน มีบางส่วนม้วนยื่นเข้าไปในเซลล์ เรียกว่า มีโซโซม (Mesosome)
1.3 บริเวณนิวเคลียส (Nucleus) บริเวณกลางเซลล์จะมีโครงสร้างคล้ายนิวเคลียส เรียกว่า Nucleoid ประกอบด้วยสาย DNA มีลักษณะเป็นเส้นหนาประมาณ 3-5 นาโนเมตร
1.4 ไรโบโซม (Ribosome) จะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มภายในไซโทพลาสซึม มีลักะค่อนข้างกลม หน้าที่ คือ สังเคราะห์โปรตีน
1.5 แฟลกเจลลัม (Flagellum) เป็นโครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่ ประกอบด้วยสารพวกโปรตีนที่มีกรดอะมิโน พวกกรดแอสพาติก และกรดกลูตามิก จำนวนมาก
1.6 ไพลัส (Pillus) มีหน้าที่ช่วยในการเกาะกันของเซลล์ ทำให้มีการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งได้
1.7 เอนโดสปอร์ (Endospore) เป็นโครงสร้างคล้ายสปอร์ มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้เซลล์ถูกทำลาย สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ คือ Dipicolinic Acid (DPA) และ แคลเซียมไอออน ช่วยให้ทนความร้อนได้
เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเซลล์พืช และเซลล์สัตว์
เซลล์พืช เซลล์สัตว์
1. เซลล์พืชมีรูปร่างเป็นเหลี่ยม 1. เซลล์สัตว์มีรูปร่างกลม หรือรี
2. มีผนังเซลล์อยู่ด้านนอก 2. ไม่มีผนังเซลล์ แต่มีสารเคลือบเซลล์อยู่ด้านนอก
3. มีคลอโรพลาสต์ภายในเซลล์ 3. ไม่มีคลอโรพลาสต์
4. ไม่มีเซนทริโอล 4. มีเซนทริโอลใช้ในการแบ่งเซลล์
5. แวคคิวโอลมีขนาดใหญ่ มองเห็นได้ชัดเจน 5. แวคคิวโอลมีขนาดเล็ก มองเห็นได้ไม่ชัดเจน
6. ไม่มีไลโซโซม 6. มีไลโซโซม
การลำเลียงสารผ่านเซลล์
1).ลักษณะของสารผ่านเซลล์ สารที่สามารถลำเลียงผ่านเซลล์ได้นั้น มีทั้งลักษณะที่เป็นของเหลว ของแข็งและก๊าซ โดยที่สารประกอบเหล่านี้จะอยู่ร่วมกับน้ำในลักษณะของสารผสมที่ต่างกัน 4 ลักษณะคือ
a) สารละลาย(Solution) สารผสมที่เกิดจากโมเลกุล หรือก๊าซของสาร 2 ชนิดมาผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน (Homogeneous) สารที่มีปริมาณมากกว่า เรียกว่า ตัวทำละลาย(Solvent) สารที่มีปริมาณน้อยกว่า เรียกว่า ตัวถูกละลาย (Solute)
i) สารละลายของก๊าซในของเหลว คือ สารละลายที่เกิดจากก๊าซละลายในน้ำ
ii) ก๊าซบางชนิดละลายน้ำได้น้อย และเมื่อละลายน้ำได้ยังคงโมเลกุลของก๊าซนั้นๆ ไม่รวมตัวหรือทำปฏิกริยากับน้ำ
iii) สารละลายของของเหลวในของเหลว คือ ของผสมที่เกิดจากของเหลวชนิดหนึ่งไปละลายในของเหลวอีกชนิดหนึ่ง
iv) สารละลายของแข็งในของเหลว คือ สารละลายที่เกิดจากสารประกอบที่เป็นของแข็งสามารถละลายน้ำได้ เช่น น้ำตาล
b) สารแขวนลอย(Suspension) คือ ของผสมที่เกิดจากการรวมตัวของสาร 2 ชนิด ซึ่งโมเลกุลของสารชนิดหนึ่งต่อเนื่องกันตลอด ส่วนโมเลกุลของสารอีกชนิดหนึ่งจะแยกตัวไปรวมกับอนุภาคสารแขวนลอย จัดเป็นสารที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน (Heterogeneus)
c) อิมัลชั่น( Emulsion) คือสารผสมที่เกิดจากของเหลว 2 ชนิดไปรวมกันแต่ต่างก็ไม่มีการละลายในกันและกัน
d) คอลลอยด์ (Colloid) คือสารผสมที่เกิดจากสาร 2 ชนิดผสมกันแต่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน คือ ชนิดหนึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้สารอีกชนิดหนึ่งแขวนลอย คอลลอยด์มีหลายประเภทดังนี้
i) เจล (Gel)ii) ซอล(Sol)iii) แอโรซอล (Aerosol)
2) การลำเลียงสารโดยผ่านเยื่อหุ้มเซลล์มีหลายวิธีได้แก่
(1) การแพร่ (Diffusion) เป็นปรากฏการณ์ที่มีโมเลกุลหรือไอออนของสารมีการเคลื่อนที่ จากที่ที่มีโมเลกุลไออนที่หนาแน่น ไปยัง ที่ที่มีโมเลกุลไออนของสารน้อยกว่า สารที่แพร่ได้อาจอยู่ในสถาวะของก๊าซ ของเหลว หรืออนุภาคของของแข็งซึ่งแขวนลอย